วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ทอดเฟรนช์ฟราย...อย่างกรอบนอกนุ่มใน

เลือกมันฝรั่งไว้ทอดก่อน ให้ใช้ Russets  หรือ baking potatos จะทอดออกมาอร่อย

ซับน้ำแห้งดีแล้ว
  
ตามที่เค้าทำขายเค้าจะมีปรอทวัดความร้อนว่าน้ำมันร้อนกี่องศาๆ
ทอดครั้งแรกจะใช้ความร้อน 163 องศา เซลเซียส (325 องศา ฟาเรนไฮต์)
ถ้าไม่มีปรอทวัดก็ไม่เป็นไร
ก่อนจะเทมันฝรั่งลงไปทอด ให้ทดสอบความร้อนของน้ำมันก่อน
โดยโยนมันฝรั่งลงไปทอดสักชิ้นสองชิ้น ถ้าน้ำมันฉ่าๆ แตกกระจายก็ใช้ได้เลยค่ะ
ทอดครั้งแรกทอดแค่ 4-5 นาทีเท่านั้น พอมันฝรั่งอ่อนตัวก็ตักขึ้นวางบนตะแกงให้สะเด็ดน้ำมัน
พอเย็นก็ตักใส่ภาชนะปิดฝา เอาเข้าตู้เย็นแช่ไว้ให้เย็นอย่างน้อย 1 ชม.ก่อนจะนำมาทอดเสริฟ
ตรงนี้เป็นเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่จะทำให้มันฝรั่งกรอบ
 

รูปนี้เป็นการทอดครั้งที่สอง ครั้งนี้น้ำมันต้องร้อนจัดกว่าทอดครั้งแรก อุณหภูมิ 190 องศา เซลเซียส (375 องศา ฟาเรนไฮต์)
ใช้เวลาทอดแป๊บเดียว คอยคนตลอดด้วย จะได้เหลืองสวยอย่างทั่วถึง
   
 

ใช้น้ำมัน ให้ถูกกับอาหาร

แนะนำให้ใช้น้ำมันดังต่อไปนี้...

  1.     น้ำมันเมล็ดฝ้าย ในการทอดที่ใช้น้ำมันมาก และความร้อนสูงเป็นเวลานาน
  2.     น้ำมันข้าวโพด หรือ น้ำมันดอกทานตะวัน ในการผัด หรือทอดที่ใช้ความร้อนสูงในเวลาสั้นๆ
  3.     น้ำมันสลัด ให้ใช้ปรุงอาหารที่ไม่ใช้ความร้อนมากนัก

การทอดที่ใช้น้ำมันมาก และความร้อนสูงเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง หรือน้ำมันเสื่อมสภาพจากความร้อนสูงที่มีอันตรายต่อร่างกายได้

วิธีที่ดี คือ ควรหลีกเลี่ยงการทำ และการกินอาหารประเภทนี้ เช่น การทอดน้ำมันท่วม (deep fry) ด้วยความร้อนสูง ฯลฯ

ถ้าหลีกเลี่ยง(การทำอาหารทอดความร้อนสูง)ไม่ได้... ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (polyunsaturated fatty acids / PUFA) สูง

เนื่องจากน้ำมันพืชกลุ่มนี้ไม่ทนต่อความร้อนสูง และอาจเกิดสารก่อมะเร็ง หรือน้ำมันเสื่อมสภาพจากความร้อนสูงที่มีอันตรายต่อร่างกายได้

น้ำมันกลุ่มที่ไม่ทนต่อความร้อนสูง ได้แก่ น้ำมันพืชส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ และน้ำมันปลาทะเล

น้ำมันกลุ่มที่ทนต่อความร้อนสูงหน่อย ได้แก่ กะทิ น้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ฯลฯ น้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดฝ้าย และน้ำมันรำข้าว

ปัญหาคือ น้ำมันกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ น้ำมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม ฯลฯ

ไขมันอิ่มตัวทำให้ร่างกายสร้างไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น

    โคเลสเตอรอล 70-80% ในร่างกายมาจากการสร้างขึ้นใหม่ภายในร่างกาย
    ส่วนน้อยมาจากอาหารที่มาจากสัตว์ อาหารจากพืชไม่มีโคเลสเตอรอล

ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลที่สูงมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงโรคเส้นเลือดแตก-ตีบตัน เช่น เส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดหัวใจอุดตัน ฯลฯ

ข่าวดี คือ น้ำมันรำข้าวและน้ำมันถั่วลิสง (มีจำหน่ายในพม่า) มีไขมันอิ่มตัวไม่สูง และมีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดตำแหน่งเดียว (monounsaturated fatty acids / MUFA) สูง

ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวช่วยเพิ่มระดับไขมันในเลือด หรือโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยทำความสะอาดเส้นเลือด นอกจากนั้นน้ำมันรำข้าวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนตี้ออกซิแดนท์) สูงด้วยขอเรียนเสนอวิธีเลือกน้ำมันพืชง่ายๆ แบบประหยัดสำหรับคนไทยดังต่อไปนี้...
------------------------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำมันถั่วเหลืองผสมน้ำมันรำข้าวสำหรับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนต่ำหน่อย และใช้เวลาไม่นาน เพื่อให้ได้น้ำมันกลุ่มโอเมกา-3 จากน้ำมันถั่วเหลือง และได้สารต้านอนุมูลอิสระจากน้ำมันรำข้าว
    
    ถ้าใช้ความร้อนสูงขึ้น... ควรลดสัดส่วนน้ำมันถั่วเหลืองให้น้อยลง และเพิ่มสัดส่วนน้ำมันรำข้าวให้มากขึ้นถ้าใช้ความร้อนสูงมาก หรือใช้เวลานาน
------------------------------------------------------------------------------------------------------ 
วิธีที่ปลอดภัยกว่า คือ ปรับเปลี่ยนวิธีทำอาหารเป็นแบบใช้ความร้อน และทำให้เร็ว เน้นทอด-ผัดให้น้อย เพิ่มอาหารประเภท “ต้ม-ยำ-นึ่ง-สลัด-น้ำพริก” เพื่อลดการกินน้ำมันให้น้อยลง เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง และเพิ่มผักผลไม้(ผลไม้ทั้งผล ไม่ใช้น้ำผลไม้) เพื่อให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอทุกมื้อ

โรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุงที่ระบาดไปทั่วโลกเป็นผลจากการกินอาหารประเภท “ผัด-ทอด” มากขึ้น อาหารประเภทนี้มี “น้ำมันที่มองไม่เห็น (invisible oil)” แฝงอยู่มากมาย

วิธีที่ดี คือ ไม่ควรกินอาหารประเภท “ผัด-ทอด” เกินวันละ 1 มื้อ หรือดีที่สุดคือ ไม่ควรเกิน 1 มื้อต่อ 2 วัน เนื่องจากอาหารประเภทนี้ให้กำลังงาน (แคลอรี) สูงมาก

นอกจากนั้นการกินเครื่องดื่มเติมน้ำตาล หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ฯลฯ เพิ่มขึ้น ร่วมกับการออกแรง-ออกกำลังน้อยมีส่วนทำให้คนเราอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นเรื่อยๆ

น้ำที่ดีกับสุขภาพจริงๆ คือ น้ำเปล่า หรือน้ำชาเจือจาง

วิธีที่ดีและปลอดภัยกว่า คือ กินอาหารประเภท “ผัก-น้ำพริก” อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ เน้นการล้างผักเพื่อลดสารพิษ เช่น แช่น้ำ เติมน้ำยาล้างจานไป 2-3 หยด ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วล้างน้ำสะอาด 3-4 น้ำให้สะอาด

พริกเป็นอาหารเสริมชั้นเยี่ยม มีธาตุเหล็กและวิตะมินซีสูงมาก ผักมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และทำให้อิ่มนาน พยายามอย่าเลือกผักทอด ให้เลือกผักสด ผักต้มแทน อย่างนี้จึงจะดีกับสุขภาพในระยะยาว